เปลี่ยนการแสดงผล
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
KING MONGKUT'S UNIVERSITY OF TECHNOLOGY NORTH BANGKOK
เปลี่ยนการแสดงผล :
นักศึกษา
ศิษย์เก่า
บุคลากร
Search for:
หน้าแรก
เกี่ยวกับ มจพ.
ประวัติ
สัญลักษณ์
วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / สมรรถนะหลัก / และค่านิยมร่วม
โครงสร้างองค์กร
วิทยาเขต
คณะผู้บริหาร
นโยบายมหาวิทยาลัย
รายงานประจำปี
องค์กรโปร่งใส
คณะและหน่วยงาน
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. ปราจีนบุรี
มจพ. ระยอง
รับสมัครนักศึกษา
ปวช และปริญญาตรี
ปริญญาโทและปริญญาเอก
วิจัยและบริการวิชาการ
ผลงานวิจัยเด่น
ฐานข้อมูลนักวิจัย
วารสารวิชาการ
งานบริการวิชาการ
ติดต่อ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
มจพ. กรุงเทพฯ
มจพ. วิทยาเขตปราจีนบุรี
มจพ. วิทยาเขตระยอง
ITA
วิทยาลัยนานาชาติ มจพ. จัดแถลงข่าว ความสำเร็จ “โครงการหลักสูตร 3+1 สองปริญญา ไทย-เยอรมัน” พร้อมเปิดตัวหลักสูตรสองปริญญาใหม่ “การจัดการการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ”
14 กุมภาพันธ์ 2566
ศาสตราจารย์ ดร. สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. พิเชษฐ์ ศรียรรยงค์ คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ, และ ศาสตราจารย์ ดร. แกร์ฮาร์ด เฟลด์มายเยอร์ (Prof. Dr. Gerhard Feldmeier), คณบดีคณะการจัดการและระบบสารสนเทศ (Dean of Faculty of Management and Information Systems), ศาสตราจารย์ ดร. เบียร์กิต วอค-วันเนอวิซ (Prof. Dr. Birgit Vock-Wannewitz) จาก มหาวิทยาลัยเบรเมอร์ฮาเว่น (Hochschule Bremerhaven, University of Applied Sciences) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และทีมคณาจารย์ไทย-เยอรมัน จัดแถลงข่าวความสำเร็จโครงการหลักสูตรปริญญาบัณฑิต สาขาการค้าระหว่างประเทศและธุรกิจโลจิสติกส์ “3+1 สองปริญญา ไทย-เยอรมัน” ในโอกาสฉลองครบรอบ 5 ปี แห่งการดำเนินโครงการฯ และในโอกาสนี้ยังได้เปิดตัวความร่วมมือปริญญา 3+1 หลักสูตรที่สองคือ “สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญ (Cruise Tourism Management)” ซึ่งจะผสานจุดแข็งของหลักสูตรการค้าระหว่างประเทศและธุรกิจโลจิสติกส์ของวิทยาลัยนานาชาติ เข้ากับจุดแข็งของหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของมหาวิทยาลัยเบรเมอร์ฮาเว่น ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ด้วยเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเมืองท่าสำคัญของเยอรมนีซึ่งมีท่าเทียบเรือสำราญที่มีความเป็นมาเก่าแก่เกือบ 200 ปี ซึ่งการขยายความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้เป็นผลพวงจากความสำเร็จของการดำเนินโครงการหลักสูตร 3+1 สองปริญญา ไทย-เยอรมัน ในเฟสแรก ที่มีบัณฑิตไทยและเยอรมันสำเร็จการศึกษาแล้ว 3 รุ่น ในหลักสูตรที่เป็นการจับคู่ “หลักสูตรการค้าระหว่างประเทศและธุรกิจโลจิสติกส์ (International Trade and Business Logistics)” ของวิทยาลัยนานาชาติ มจพ. กับ “หลักสูตร Betriebswirtschaftslehre (Business Administration)” ของมหาวิทยาลัยเบรเมอร์ฮาเว่น โดยกำลังอยู่ในช่วงของการคัดเลือกนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2566 ซึ่งนับเป็นรุ่นที่ 5 แม้ว่าการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยสำหรับชาวไทย แต่ในระดับสากลแล้วจัดเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมาก ทั้งยังเป็นการรวมศาสตร์และศิลป์ตลอดจนวิทยาการหลากแขนงในการบริหารและดำเนินกิจการ สามารถสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศไม่เพียงเฉพาะต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแต่ยังรวมไปถึงธุรกิจสนับสนุนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การจัดหาเสบียงและเชื้อเพลิง การให้บริการด้านท่าเรือและการส่งต่อนักท่องเที่ยว บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาภายใต้โครงการฯ นี้จึงนับว่าเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ ประสบการณ์ และความวิสัยทัศน์ ปฏิบัติได้จริง ซึ่งสามารถต่อยอดให้กับเศรษฐกิจระดับชาติและระดับนานาชาติได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยการจัดการเรียนการสอนในโครงการหลักสูตร 3+1 สองปริญญา ไทย-เยอรมัน ดำเนินการเป็นภาษาอังกฤษทำให้นักศึกษาทักษะการสื่อสารพร้อมต่อการทำงานในระดับสากล อีกทั้งทั้งสองสถาบันยังได้ส่งเสริมการเรียนภาษาที่ 3 คือ ภาษาไทยแก่นักศึกษาชาวเยอรมัน และภาษาเยอรมันแก่นักศึกษาไทย รวมถึงการจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านวัฒนธรรมและความหลากหลาย อาทิ การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการทัศนศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาจากทั้งสองสถาบันมีความพร้อมเป็นพลเมืองสากลนอกเหนือจากความรู้ ประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลจากการเรียนและใช้ชีวิตในต่างแดน เน้นหลักการผสมผสานองค์ความรู้ และส่งเสริมให้นักศึกษาของทั้งสองประเทศได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง สมดังปรัชญาการศึกษาของ มจพ. “วิชาการดีเด่น จากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ (Academic Excellence with Hands-on Experience) ซึ่งสืบทอดมาตลอด 64 ปี ด้วยรากฐาน “ไทย-เยอรมัน” โดยมีนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ที่สนใจหลักสูตรเข้าร่วมในพิธีครั้งนี้เป็นจำนวนมาก ณ หอประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทราชินี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม วิทยาลัยนานาชาติ มจพ. โทร: +66 2 555-2000 ต่อ 2811 หรือ 2812 มือถือ: +66 9 27424458 Email:
admission@ic.kmutnb.ac.th
Facebook: International College KMUTNB
พัทธนันท์/ข่าว
วุฒิสิทธิ์/ภาพ